ผ่าฟันคุดราคา ต่อซี่ประมาณเท่าไหร่ ทำไมถึงต่อผ่า และมีขั้นตอนอย่างไร? มาดูกัน

ผ่าฟันคุดราคา เท่าไหร่? และมีขั้นตอนอย่างไร มาดูกัน

ผ่าฟันคุดราคา

ผ่าฟันคุดราคา ต่อซี่ประมาณเท่าไหร่ ทำไมถึงต่อผ่า และมีขั้นตอนอย่างไร? มาดูกัน

ผ่าฟันคุดราคา ต่อซี่ประมาณเท่าไหร่ ทำไมถึงต่อผ่า และมีขั้นตอนอย่างไร? มาดูกัน ผ่าฟันคุดราคาเท่าไหร่? น่ากลัวไหม? จำเป็นแค่ไหน? วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจให้ทุกข้อ โดยขอเริ่มกันที่การทำความรู้จักกับการผ่าฟันคุดกันก่อน ซึ่งการผ่าฟันคุดถือเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร เพราะถือว่าเป็นการผ่าตัดขนาดเล็กเลย

ทั้งนี้หลายคนทราบดีว่าฟันแท้ของมนุษย์เรามี 32 ซี่ แต่ที่จริงแล้วคนเราส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักจะมีฟันแท้ในช่องปากเพียง 28 ซี่ นอกจากคนขากรรไกรใหญ่หรือกว้างจะสามารถมีฟันขึ้นครบได้ 32 ซี่ ซึ่งอีก 4 ซี่ คือฟันกรามซี่ที่สาม อาจโผล่มาได้บ้างหรือไม่โผล่ออกมาเลยก็ได้ เรียกว่า “ฟันคุด”


ฟันคุด

ฟันคุด คือ

ฟันคุด ถือเป็นฟันธรรมชาติของที่ไม่สามารถโผล่พ้นกระดูกและเหงือกขึ้นมาในช่องปากได้เต็มซี่ ด้วยหลายสาเหตุ อาทิ ถูกกีดกันจากฟันข้างเคียง , มีกระดูกหรือเหงือกคลุมฟันคุดอยู่หนาจนไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้ , หรือไปอยู่ในที่ที่ไม่ควรอยู่ ทั้ง ขอบล่างของกระดูกขากรรไกรล่าง ซึ่งมีบางทฤษฎีบ่งชี้ว่า เนื่องจากขนาดของกระดูกขากรรไกรเล็กไปทำให้ไม่มีที่พอสำหรับให้ฟันขึ้นมาครบทั้ง 32 ซี่ได้ หรือไม่ก็เป็นฟันเกินซี่ที่ 33 34 โดยที่ผ่านมาจะพบฟันคุดเฉพาะฟันที่เป็นฟันแท้เท่านั้น

ฟันคุด จะมีแรงดันในการขึ้นเมื่อคนเราอายุประมาณ 17-25 ปี ในช่วงนี้หลายคนจึงมักมีปัญหาในเรื่องของฟันคุด หากโชคดีฟันขึ้นมาในช่องปากได้มากก็สามารถถอนฟันปกติได้ แต่ส่วนใหญ่ต้องผ่าเอาฟันคุดออก

วิธีผ่าฟันคุด แม้จะใช้คำว่าผ่าฟันคุด แต่ก็ไม่ได้มีความน่ากลัวเหมือนกับการผ่าตัดอวัยวะภายในอื่น ๆ เพราะไม่ถึงกับการผ่าตัดที่ต้องถึงกับนอนโรงพยาบาล สามารถทำบนเก้าอี้ทำฟันโดยใช้ยาชาตามปกติ แต่ หลักการผ่าฟันคุด นี้จะใช้เวลาการทำนานกว่าถอนฟันปกติ และมีวิธียุ่งยากกว่า แล้วแต่ตำแหน่งของฟันคุดนั้น ๆ ว่าลึกมากน้อยแค่ไหน

ฟันมีการวางตัวอย่างไร ซึ่งก็มีตั้งแต่ตรง ๆ , เอียงทางด้านหน้า เอาหัวเอียงมาซบฟันด้านหน้าซี่ที่ติดกันน้อย , เอียงซบฟันซี่ที่ติดกันมากขึ้นตามลำดับจนตั้งฉากกับฟันซี่ที่ติดกัน หรือที่ร้าย ๆ กว่าคือฟันเอียงหัวไปคนละทางกับฟันซี่ติดกัน เหล่านี้ต้องได้รับการผ่าตัดเอาฟันคุดออกทั้งหมด

ทำไมต้องผ่าฟันคุด? หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเราต้องผ่าฟันคุด ที่ทั้งต้องเจ็บตัวและผ่าฟันคุดราคาก็ไม่ใช่ถูก ๆ ซึ่งที่จริงแล้วมีความจำเป็นนอกเหนือจากเรื่องอาการปวดฟันที่เกิดขึ้นจากการอักเสบกระพุ้งแก้มแล้ว ตามธรรมชาติของฟันทุกซี่จะผลักดันตัวมันเองขึ้นมาในช่องปาก และมีถุงเนื้อที่หุ้มบริเวณหัวฟันเป็นตัวช่วยออกแรง เมื่อโผล่ขึ้นมาได้เจ้าถุงนี้ก็จะสลายตัวไป แต่หากขึ้นไม่ได้ความพยายามผลักดันตัวมันจะยังคงอยู่ แรงดันนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดได้ บางกรณีพบว่ากระดูกบริเวณรากฟันซี่ที่ติดกันถูกดันจนละลายตัวไป เพราะฟันคุดบางซี่โผล่ขึ้นมาในช่องปากได้บางส่วนที่เหลืออยู่ใน กระดูกบ้าง ถูกเหงือกคลุมบ้าง หากปวดมาก ๆ ก็ต้องเข้าสู่ ขั้นตอนถอนฟันคุด กันต่อไป

ดังนั้น เศษอาหารและแบคทีเรียชอบที่ไปซ่อนตัวอยู่บริเวณใต้เหงือกที่คลุมหัวฟันคุดอยู่ พื้นที่นี้เป็นที่ที่ยากจะทำความสะอาด จึงมักเกิดการอักเสบ ติดเชื้อที่บริเวณนั้นหรืออาจลุกลามต่อไปยังบริเวณข้างเคียงและใบหน้าได้


ฟันคุด

นอกจากนี้ ปัญหาดังกล่าวอาจลุกลามกลายเป็นเรื่องใหญ่ เช่น ปัญหาฟันข้างเคียงผุมาจากการที่ไม่สามารถทำความสะอาดบริเวณนั้นได้เพียงพอ ประกอบกับการมีเศษอาหารติดแน่นในที่นั้นได้ง่ายจนการกลายไปเป็นถุงน้ำหรือเนื้องอกขนาดเล็กหรือใหญ่โต ก็พบได้เนื่องจากการเจริญที่ผิดปกติของถุงหุ้มฟันและเนื้อเยื่อของฟันคุดที่เหลืออยู่ ขณะเดียวกันฟันคุดยังจะทำให้สถานการณ์แย่ลงในกรณีเกิดการหักบริเวณมุมกระดูกขากรรไกรที่รอยหักมักจะผ่านฟันคุดพอดิบพอดีเนื่องจากกระดูกบริเวณนั้นบางกว่าที่อื่น เป็นต้น

ดังนั้น หากคุณ มีอาการปวดฟันคุด การแก้ปัญหาฟันคุดจึงหลีกเลี่ยงที่จะถอนฟันออกไม่ได้เลย โดยมีอยู่สองวิธี คือ การถอนฟันแบบปกติ คือฟันที่มองเห็นได้ในช่องปาก ทันตแพทย์ทั่วไปสามารถถอนฟันแบบปกติได้ ในการถอนฟันตามปกตินั้น ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่าอิเลเวเตอร์ทำให้ฟันโยก จากนั้นจึงใช้คีมคีบฟันขึ้นมา และการถอนฟันที่ต้องผ่าตัด มักใช้กับการถอนฟันที่แตกหักอยู่ภายในเหงือกหรือฟันที่ยังไม่งอกขึ้นมา

การถอนฟันที่ต้องผ่าตัดมักทำโดยศัลยแพทย์ช่องปากและใบหน้าขากรรไกร อทันตแพทย์ทั่วไปสามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งทันตแพทย์จะกรีดเหงือกเป็นแผลเล็ก ๆ เพื่อนำเอาฟันที่แตกหักหรือฟันคุดออกมา บางกรณีอาจจำเป็นต้องเอากระดูกรอบฟันนั้นออกด้วย หรือตัดฟันออกเป็นสองส่วนก่อนจะถอนออก


ผ่าฟันคุดราคาซี่ละ

ผ่าฟันคุดราคาซี่ละ

ผ่าฟันคุดราคาซี่ละ ? ในส่วนของราคาการผ่าฟันคุดของคลีนิกและโรงพยาบาลทั่วไปต่อซี่ในการผ่าคือประมาณ 1,000-5,000 บาท แล้วแต่สถานที่ให้บริการและความยากง่ายของการผ่าฟันคุด โดยหลังจากผ่าฟันคุดเสร็จก็ต้องมีการดูแลรักษาคือ ใช้ผ้าก็อซติดให้แน่นประมาณ 1-2 ชั่วโมง กลืนนํ้าลายให้แห้ง อย่าบ้วนปากหรือนํ้าลายระหว่างกัดผ้าก็อซ จากนั้นเมื่อครบ 1-2 ชั่วโมงให้คายผ้าทิ้ง

หากมีการบวมให้ใช้ผ้าเย็นหรือผ้าห่อนํ้าแข็งประคบ แต่ห้ามอมนํ้าแข็งในปาก เมื่อผ่านวันแรกให้เปลี่ยนมาประคบด้วยนํ้าอุ่น หากปวดแผลให้ทานยาแก้ปวดที่หมอให้ หลีกเลี่ยงการใช้งานฟันด้านที่ผ่า ถ้าปวดแผลหรือมีอาการปวมมากให้รีบไปพบทันตแพทย์ และ หากมีการเย็บแผลให้กลับไปตัดไหมเมื่อครบ 7 วัน แค่นี้ก็เรียบร้อย

จะเห็นได้ว่า โดยทั่งไปแล้วค่าใช้จ่ายในการผ่าฟันคุดอาจแพงหรือไม่แพงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น จำนวนและตำแหน่งของฟันที่ต้องถอน ความซับซ้อนของกระบวนการทำงาน สถานที่และที่ตั้งของคลินิกทันตกรรม และระยะเวลาในการฟื้นฟูหลังผ่าฟันคุด เป็นต้น

การผ่าฟันคุดเป็นกระบวนการที่ควรทำโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย สามารถสอบถามคลินิกทันตกรรมหรือติดต่อปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการเลือกทางเลือกที่เหมาะสมในการรักษาและประหยัดค่าใช้จ่ายได้


ทีนี่คุณก็คงได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของการรักษาฟันและการผ่าฟันคุด เพื่อให้เกิดเป้าหมายในการดูแลสุขภาพฟันอย่างถูกต้อง และตระหนักถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผ่าฟันคุดต่าง ๆ ซึ่งสามารถปรับปรุงได้ด้วยการดูแลรักษาฟันอย่างสม่ำเสมอ การผ่าฟันคุดเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนและความเสี่ยงสูง เนื่องจากเกี่ยวข้องกับสมบัติของฟันและระบบประสาท ดังนั้นการรักษาฟันอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อย เพื่อลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เพิ่มขึ้น

สุดท้ายนี้ หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการผ่าฟันคุด และสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเมื่อต้องการผ่าฟันคุดในอนาคต โดยอย่าลืมเรียนรู้และปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์เพื่อให้สุขภาพฟันของเรามีคุณภาพและแข็งแรงตลอดไป

อ้างอิง:

ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด ราคาต่างกันเพราะอะไร?. https://www.sktdental.com/ผ่าฟันคุด/

ข้อควรรู้ ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด เจ็บไหม ราคาเท่าไหร่ เตรียมตัวอย่างไรบ้าง. https://www.smileseasons.com/wisdom-tooth/

Comments

comments