ผ่าฟันคุด - ข้อมูล และ การปฏิบัติ โดยละเอียด

ผ่าฟันคุด – ข้อมูลและการปฏิบัติ โดยละเอียด

ผ่าฟันคุด - ข้อมูลและการปฏิบัติ โดยละเอียด

ผ่าฟันคุด – ข้อมูลและการปฏิบัติ โดยละเอียด

หลายคนอาจสงสัยว่า ผ่าฟันคุด ต้องทำทุกคนหรือไม่? ตั้งเเต่เล็กจนโต เป็นที่ทราบกันดีว่าคนเราจะมีฟันด้วยกันทั้งหมดสองชุด คือฟันน้ำมัน และฟันแท้ ซึ่งฟันแท้จะมีด้วยกันทั้งหมด 32 ซี่ หากลองนับดูเล่นๆ บางคนอาจมีครบ แต่บางคนก็มีไม่ครบ ซึ่งฟันซี่ที่ขึ้นสุดท้าย ขึ้นมาเฉียงๆ เอียงๆ ติดฟันข้างเคียง ฟันที่ขึ้นมาไม่ได้ ฝังอยู่ในขากรรไกร เราเรียกว่า “ฟันคุด”

ฟันคุด คือ ฟันที่ผิดปกติไม่สามารถงอกขึ้นมาโผล่พ้นกระดูกและเหงือกขึ้นมาในช่องปากได้เต็มซี่ ซึ่งอาจจะฝังอยู่ในเหงือกหรือกระดูกขากรรไกรเป็นต้น หรืออย่างในบางกรณีอาจจะโผล่เฉพาะบางส่วน ส่วนใหญ่ฟันที่จะมีโอกาสเป็นฟันคุดบ่อยคือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งมักจะอยู่ในด้านสุดของขากรรไกรล่างทั้งซ้ายและขวา แต่ก็มีโอกาสพบได้ในบริเวณอื่นเช่นเดียวกัน เช่น ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อย โดยมักจะมีลักษณะตั้งตรงเอียงหรือนอนในแนวระนาบหรือตะแคง และมักจะชิดอยู่กับฟันข้างเคียงเสมอ ส่วนใหญ่มักจะมีอาการร่วมด้วยดังนั้นหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจมีอาการบวมหรือมีหนอง อีกทั้งยังทำให้ฟันข้างเคียงก็จะผุตามด้วย

จะทราบได้อย่างไรว่าเรามีฟันคุด

ตามปกติแล้วเราจะเริ่มทราบว่ามีฟันคุดก็จะมักเริ่มมีอาการปวดกดแล้วรู้สึกเจ็บ ถ้าเป็นมากอาจจะอ้าปากไม่ขึ้นเคี้ยวและกลืนอาหารลำบาก หรืออาจสังเกตได้ที่เนื้อเยื่อบริเวณด้านหลังว่ามี อาการปวดฟันคุด และเหงือกแดงอักเสบหรือไม่ แต่ก็มีบางกรณีที่ไม่รู้สึกปวดแต่นั่นก็ไม่ได้ความว่าไม่มีฟันคุด บางทีอาจจะรู้สึกปวดตอนอายุมากซึ่งไม่เป็นผลดีเพราะการผ่าตัดทำได้ยากและแผลก็หายยากมากขึ้น และเพื่อความแน่ใจก็ควรจะเอ็กซเรย์ดูจะทำให้สามารถเห็นฟันคุดในตำแหน่งต่างๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้ว การมีฟันคุดจะก่อให้เกิดอาการปวดและอาจมีการติดเชื้อเกิดขึ้นได้ การทราบว่ามีฟันคุดหรือไม่สามารถทำได้โดยดูอาการและอาการปวดของเหงือก รวมถึงการรับรู้และตระหนักถึงภาวะที่เกี่ยวข้องกับฟันคุด

ผลเสียของฟันคุด

ผ่าฟันคุด

ผู้ที่มีฟันคุดอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดที่รุนแรงหากเราปล่อยไว้เป็นเวลานาน เวลาเคี้ยวอาหารหรืออ้าปากก็ลำบากเนื่องจากแรงผลักดันของฟันคุดต่อฟันข้างเคียง ทำให้เกิดอาการอักเสบของเหงือกที่หุ้มฟันคุดเพราะอาจจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ตามซอกฟันหรือใต้เหงือกทำให้ยากต่อการทำความสะอาด อีกทั้งยังทำให้ฟันคุดและฟันข้างเคียงผุกร่อนได้ง่ายจากเชื้อแบคทีเรียที่หมักหมม หากทิ้งไว้นานอาการอักเสบอาจจะลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ เช่นใต้คาง ใต้ลิ้นได้ง่าย ฟันคุดเป็นตัวการทำให้เกิดฟันซ้อนและร้ายที่สุดอาจก่อให้เกิดความผิดปกติของเนื้อเยื่อหุ้มฟันซึ่งอาจเปลี่ยนเป็นเนื้องอกหรือเนื้อร้ายได้

แล้วควรทำอย่างไรเมื่อรู้ว่ามีฟันคุด

มีฟันคุด

เมื่อรู้สึกว่ามีฟันคุด ควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาและเริ่มประเมินขั้นตอน การผ่าฟันคุด เพราะถ้าหากปล่อยไว้นานๆ อาจก่อให้เกิดผลเสียตามมาอีกมากมาย อีกทั้งทำให้ฟันข้างเคียงนั้นต้องเสียไปด้วย และไม่ควรทานยาเองสุ่มสี่สุ่มห้าเพราะฟันคุดไม่สามารถหายเองได้จากการทานยา . . . ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ควรเอาฟันคุดออกคืออายุระหว่าง 16-25 ปีเพราะว่าจะก่อให้เกิดผลเสียน้อยที่สุด ฉะนั้นหากเรารีบเอาฟันคุดออกเสียแต่เนิ่นๆ ก็จะยิ่งเป็นผลดีกับตัวเรานั้นเอง

ซึ่งฟันคุดนั้นจะหมายถึงฟันที่เจาะลึกเข้าไปในเนื้อเยื่อของเหงือก โดยทั่วไปแล้วจะเกิดขึ้นกับฟันหลังสุดในแถวฟัน ความเจ็บปวดที่เกิดจากฟันคุดสามารถร้าวไปถึงหู และส่งผลกระทบต่อการกินอาหารและการพูดได้ ดังนั้นหากคุณรู้สึกว่ามีฟันคุด ควรทำตามขั้นตอนดังนี้:

  • พบทันตแพทย์: หากคุณรู้สึกว่ามีฟันคุด คุณควรนัดหมายทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบและวินิจฉัยปัญหา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อและอาจจะต้องเคลื่อนย้ายฟันคุด
  • ดูแลอาหาร: หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นกรดและเค็ม และควรบริโภคอาหารที่อ่อนนุ่ม เช่น ข้าวต้มหรือปุ๋ยหมัก เพื่อลดการเสียดทานจากฟันคุด
  • ดูแลสุขภาพช่องปาก: สำหรับผู้ที่มีฟันคุด ควรใช้แปรงสีฟันและสxัมฤทธิ์ปากอย่างสม่ำเสมอ และควรระบายลมปากอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการสะสมแบคทีเรียในช่องปาก
  • รับประทานยาแก้ปวด: หากคุณรู้สึกเจ็บปวด คุณควรรับประทานยาแก้ปวดที่ได้รับการแนะนำจากทันตแพทย์ หรือยาแก้ปวดที่วินิจฉัยโดยหมอผู้เชี่ยวชาญ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์: หากทันตแพทย์วินิจฉัยว่าคุณมีฟันคุด คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของพวกเขาอย่างเคร่งครัด เช่น การเข้ารับการรักษาและการแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถดูแลฟันและเหงือกให้สมบูรณ์และสุขภาพดี
  • ป้องกันฟันคุดในอนาคต: หากฟันคุดเกิดขึ้นเพราะการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย คุณควรรักษาความสะอาดและดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้คุณยังควรจะเว้นระยะห่างอย่างน้อย 6 เดือนในการเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อควบคุมสุขภาพของฟันและเหงือกอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับผู้ที่มีฟันคุด ควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ และรักษาการติดเชื้อหรือปัญหาด้านฟันและเหงือกโดยทันที เพื่อลดความเจ็บปวดและป้องกันการเสียหายของฟันเพิ่มเติมในอนาคต

ขั้นตอนการ ผ่าฟันคุด มีอะไรบ้าง

การผ่าฟันคุดสามารถทำได้ง่ายที่โรงพยาบาลหรือคลินิกทันตกรรมภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ เฉลี่ยโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 10-30 นาทีต่อฟันคุด 1 ซี่ ทั้งนี้และทั้งก็ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของและความร่วมมือจากผู้ป่วยเอง ซึ่งบางกรณีฟันคุดก็สามารถผ่าออกได้ง่ายๆ เทียบเท่ากับการถอนฟัน แต่ทันตแพทย์จะเป็นผู้พินิจพิจารณาว่าจะทำการผ่าหรือถอนฟันคุดออกนั้นก็ขึ้นกับความยากง่ายของลักษณะการขึ้นของฟันและตำแหน่งของฟันที่ฝังอยู่ในกระดูก หลายคนก็อาจสงสัยว่า ผ่าฟันคุดราคาเท่าไหร่ ทั่วไปแล้วจะเริ่มต้นที่ซี่ละ 2,000 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการผ่าด้วยเช่นกัน ซึ่งขั้นตอนการผ่าทั้งหมดนั้นจะอยู่ภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่หรือการระงับประสาทและในส่วนของอาการบวมก็จะขึ้นกับปริมาณความกระทบกระเทือนต่อกระดูกและเหงือกนั่นเอง สามารถกลับบ้านได้เลยไม่จำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล

9 สิ่งต้องปฏิบัติหลัง การผ่าฟันคุด

ฟันคุด

การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดนั้นสำคัญเพราะจะช่วยลดปัญหาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดลงได้เป็นอย่างมาก ฉะนั้นผู้ป่วยควรทำตัวตามภายใต้ข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น

  1. กัดผ้าก็อซให้แน่นอยู่ตามปกติประมาณ 1- 2 ชั่วโมง สามารถกลืนน้ำลายได้ตามปกติและไม่ควรเปลี่ยนผ้าหากไม่จำเป็น
  2. กลืนน้ำลายให้แห้ง ห้ามบ้วนปากหรือน้ำลายระหว่างกัดผ้าก็อซอยู่เพราะอาจจะทำให้เลือดนั้นไหลไม่หยุด และไม่ควรบ้วนน้ำบ่อยหรือรุนแรง เพราะอาจจะทำให้เลือดที่แข็งตัวไปแล้วหลุดออกทำให้เลือดนั้นสามารถไหลซึมได้อีก
  3. ครบ 1-2 ชั่วโมงให้คายผ้าก็อซทิ้ง หากพบว่ายังคงมีเลือดซึมออกมาจากแผลผ่าตัดให้ใช้ผ้าก็อซใหม่อีกประมาณครึ่งชั่วโมง
  4. ในวันแรกหากมีการบวม ให้ใช้ผ้าเย็นหรือผ้าห่อน้ำแข็งประคบบริเวณนอกปากตั้งใบหูจนถึงใต้คางข้างที่ผ่าฟันคุด แต่อย่าอมน้ำแข็งในปากเพราะจะทำให้เลือดนั้นไม่หยุดไหล
  5. หลังจากวันที่ 1-2 แล้วให้เปลี่ยนเป็นประคบบริเวณเดิมด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นหรือกระเป๋าน้ำอุ่นจนกว่าจะรู้สึกปกติ แต่ในระยะนี้อาจจะมีอาการปวดและบวมแดงเป็นผลข้างเคียงจากการผ่าตัด จึงไม่จำเป็นต้องกังวล
  6. ถ้ารู้สึกปวดแผลให้รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง รับประทานอาหารอ่อนๆ ไม่ควรทานอาหารที่มีรสจัด ควรงดออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหนักๆ
  7. หลีกเลี่ยงการใช้งานด้านที่ผ่าไปก่อนระยะหนึ่งจนกว่ารู้สึกปกติ แต่สามารถแปรงฟันทำความสะอาดในช่องปากได้ตามปกติแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องระวังไม่ให้โดนแผลที่ผ่าฟันคุด
  8. ถ้ารู้สึกปวดแผลมากขึ้นหรือบวม หากมีปัญหาหรือเกิดอาการผลแทรกซ้อนขึ้น เช่น ปวดแผลมากกว่าปกติหรือยังคงรู้สึกชานานผิดปกติทั้งที่หมดฤทธิ์ของยาชาไปแล้วและเลือดยังคงไหลไม่หยุด ให้รีบกลับไปพบทันตแพทย์อีกครั้ง
  9. ถ้ามีการเย็บแผลให้ไปตัดไหมตามนัดเมื่อครบประมาณ 7 วัน

ในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน การรักษาฟันคุดเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เนื่องจากการเสียหายของฟันคุดสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจได้ การรู้และเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับฟันคุด และการปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเจ็บปวดและป้องกันการเสียหายของฟันเพิ่มเติมในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น หากคุณมีฟันคุดหรือสงสัยว่ามีฟันคุด ควรทำตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมา โดยพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบและวินิจฉัยปัญหา ดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ฟันและเหงือกของคุณอยู่ในสภาพที่แข็งแรงและสมบูรณ์แบบตลอดไป

อ้างอิง:

TOOTH EXTRACTION AND SURGICAL TOOTH EXTRACTION. https://dentalhospitalthailand.com/dental-services/oral-surgery/wisdom-tooth/

What is a wisdom tooth?. https://bangkokdental.com/en/oral-surgery/wisdom-teeth-extraction/

Comments

comments