จัดฟัน กับ 7 ลักษณะฟันที่ต้องจัด และ ข้อมูลน่ารู้อื่นๆ

จัดฟัน กับ 7 ลักษณะฟันที่ต้องจัด และ ข้อมูลน่ารู้อื่นๆ

จัดฟัน dentalthai

ข้อมูลต้องรู้ก่อนเริ่มคิด จัดฟัน

ทันตกรรม จัดฟัน เป็นทันตกรรมสาขาหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับการเรียงตัวของฟัน เกี่ยวข้องกับการแก้ไขฟันและขากรรไกรที่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากฟันที่เรียงกันไม่เป็นระเบียบนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อรูปหน้า ประสิทธิภาพและวิธีการบดเคี้ยว อีกทั้งฟันยื่นและฟันที่ขบกันไม่พอดีจะทำให้ยากต่อการทำความสะอาดและมีความเสี่ยงต่อกันสูญเสียฟันก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการกดทับต่อกล้ามเนื้อที่ใช้ในการบดเคี้ยวซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อาการปวดที่ข้อต่อขากรรไกร คอ ไหล่และหลังเป็นต้น

ทันตกรรมจัดเป็นมีส่วนช่วยให้คุณมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น ทำให้มั่นใจในบุคลิกภาพมากขึ้นกว่าเดิมและฟันที่จะสามารถคงทนไปตลอดชีวิต อีกทั้งความสะดวกในการดูแลรักษาความสะอาดของฟัน

ระยะเวลาสำหรับการจัดฟัน จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่นอายุ ปัญหาและการดูแลรักษาของแต่ละบุคคล โดยทั่วไปการรักษาด้วยการจัดฟันจะใช้เวลาตั้งแต่ 6 – 30 เดือน


แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าเราต้องการ จัดฟัน?

จัดฟัน

เมื่อเข้ารับการตรวจทันตแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินว่าคนไข้ควรได้รับการจัดฟันแล้วหรือไม่ โดยดูจากการวินิจฉัยด้วยประวัติการรักษาทางการแพทย์และทันตกรรม การตรวจในคลินิก แบบพิมพ์ฟันและภาพเอ็กซเรย์ คุณอาจต้องได้รับการจัดฟันถ้าคุณมีปัญหาดังต่อไปนี้

  1. ฟันยื่น (Protrude) – ลักษณะของฟันบนหรือฟันล่างจะยื่นออกมามากกว่าปกติ
  2. ฟันซ้อนเก (Croeding) – ลักษณะของฟันจะมีฟันซ้อนไม่เรียงตัวตามแนวของเหงือกคือความผิดปกติระหว่างขนาดของฟันและส่วนโค้งของแนวฟัน อาจจะซ้อนออกมาด้านข้างหรือด้านใน ส่งผลให้ทำความสะอาดยากและอาจจะเกิดฟันผุตามมาได้
  3. ฟันกัดคล่อม (Crossbite) – จะมีลักษณะของฟันหน้าที่หุบเข้าไปด้านในแทนที่จะออกมาอยู่ด้านนอก ซึ่งทำให้ฟันบนไม่สามารถขบได้พอดีกับฟันล่าง
  4. ฟันกัดเบี้ยว (Midline Shift) – คือลักษณะของฟันซี่ตรงกลางนั้นจะไม่ตรงกันหรือช่วงจุดศูนย์กลางของฟันบนปละฟันล่างไม่ตรงกัน โดยส่วนมากพบที่บริเวณในส่วนของฟันเขี้ยว จนอาจมีผลทำให้ใบหน้ามีรูปร่างไม่สมดุล
  5. ฟันห่าง (Spacing) – คือฟันที่ห่างและมีพื้นที่ว่างบริเวณเหงือกทำให้เวลาเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดและมีเศษอาหารไปติดอยู่ตามซอกฟันได้ง่าย ซึ่งอาจเกิดจากฟันที่หลุดออกหรือขึ้นไม่เต็ม มักพบในฟันตัดบน
  6. ฟันสบลึก (Deepbite) – เป็นฟันที่มีลักษณะฟันหน้าจะค่อยๆลดลงเมื่อฟันกรามแท้งอกขึ้นทำให้ฟันหน้านั้นลงมาต่ำมากแทบจะปิดฟันล่าง
  7. ฟันสบเปิด (Openbite) – ลักษณะฟันหน้าทั้งด้านบนและด้านล่างไม่ประกบชิดกัน ฉะนั้นเวลาหุบปากจะมีช่อวงว่างเกิดขึ้นเนื่องจากฟันสบกันไม่ดี

ลักษณะฟันที่ต้องการ การจัดฟัน


การปรึกษา วินิจฉัยและวางแผนการรักษาก่อนจัดฟันคืออะไร?

ทันตแพทย์จะเริ่มทำการรักษาจากการซักถามประวัติต่างๆหรือพฤติกรรมการรับประทานอาหาร จากนั้นจะเริ่มทำการ ตรวจในช่องปากและเอ็กซ์เรย์ฟันทั้งปากและศีรษะเพื่อตรวจหาลักษณะฟันที่ผิดปกติของผู้ป่วย จากนั้นจะทำการพิมพ์ปากทำแบบจำลองฟัน และอาจถ่ายรูปฟันและใบหน้า เพื่อเป็นข้อมูลในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา รวมไปถึงการประเมินเวลา และค่าใช้จ่ายเพื่อให้ผู้ที่จะเข้ารับการรักษาสามารถซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ ว่าต้องการจัดฟันรูปแบบใด ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีรูปแบบการจัดฟันใหม่ ๆ เช่น  จัดฟันดามอน ที่หลายคนนิยม โดยการปรึกษารวมทั้งการทำประวัติดังกล่าวมิได้เป็นการผูกมัดผู้ป่วยแต่เหมือนเป็นแฟ้มประวัติการรักษาของผู้ป่วย ในกรณีหากผู้ป่วยต้องการคำแนะนำจากทันตแพทย์ท่านอื่นสามารถนำเอ็กซ์เรย์ และแบบจำลองฟันไปได้ ผู้ต้องการรับการจัดฟันควรศึกษาและสอบถามถึงแผนการรักษา รายละเอียด ผลข้างเคียง และผลการรักษาที่คาดหมายอย่างละเอียด ก่อนเริ่มกระบวนการจัดฟัน

การรักษาฟันก่อนจัดฟันเป็นกระบวนการเตรียมฟันก่อนที่จะนำไปจัดฟัน เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้ฟันเตรียมพร้อมและแข็งแรงพอที่จะรับแรงกดจากการจัดฟันได้ดียิ่งขึ้น หากไม่รักษาฟันก่อนจัดฟันอาจทำให้เกิดปัญหาด้านฟันและเหงือกได้ เช่น การเสื่อมสลายฟัน การแตกหักฟัน การเคลือบฟัน และการอักเสบเหงือก เป็นต้น

การรักษาฟันก่อนจัดฟันสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การทำความสะอาดฟันโดยใช้แปรงสีฟันและด้วยการใช้สารสกัดจากพืช เช่น คลอร์เฟ็กซ์ (Chlorhexidine) เพื่อลดการติดเชื้อและการอักเสบ เรียกว่า Scaling and Root Planing หรือการทำ Scaling เพื่อเอาเศษอาหารและคราบเครื่องดื่มที่ติดอยู่ระหว่างฟันออก การรักษาฟันขึ้นอยู่กับสภาพของฟันแต่ละรายบุคคล และควรได้รับการประเมินจากทันตแพทย์ก่อนเริ่มการจัดฟัน เพื่อให้การรักษาฟันก่อนจัดฟันเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทำให้การจัดฟันเป็นไปได้ราบรื่นและปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วย


ควรตรวจสุขภาพฟันก่อนจัดฟันอย่างไร?

ก่อนได้รับการจัดฟัน ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจช่องปากโดยรายละเอียด หากมีฟันผุจะต้องอุดให้เรียบร้อย และขูดหินปูนให้สะอาด หากมีโรคเหงือกจะต้องได้รับการรักษาจน ระหว่างการจัดฟัน ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจและทำความสะอาดฟันเป็นระยะ ๆ โดยทันตแพทย์ประจำตัว อย่างน้อยทุก 6 เดือน การขูดหินปูนระหว่างจัดฟันด้วยเครื่องมือติดแน่นสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องถอด เครื่องมือออก

แต่ในกรณีที่ฟันซ้อนเกมากหรือฟันยื่นมากทางทันตแพทย์จะต้องทำการรักษาโดยถอนฟันจะทำให้มีช่องว่างเพื่อที่จะเรียงฟันที่ซ้อนเกหรือดึงฟันเข้าเพื่อลดความยื่นของฟัน ฟันที่มักถูกถอนก็เพื่อประโยชน์ในการจัดฟันมักเป็นฟันกรามน้อยที่อยู่หลังฟัน เขี้ยว อย่างไรก็ตามซึ่งฟันบางซี่ที่อาจจะไม่เอื้ออำนวยความสะดวกในการดึงฟันที่เกนัก แต่มีปัญหาเช่นฟันที่ผุมากเกินไป ฟันที่มีวัสดุอุดฟันมีขนาดใหญ่ หรือฟันที่รูปร่างผิดปกติ ทันตแพทย์อาจจะพิจารณาถอนฟันเหล่านี้แทนและเพื่อเก็บฟันที่ดีที่สุดไว้ แต่ทั้งนี้การจัดฟัน อาจจะใช้เวลายาวนานขึ้นกว่าปกติ หรืออาจต้องใช้เครื่องมือพิเศษช่วยในการรักษารูปหน้ากับการจัดฟัน ซึ่งหากใครที่ไม่อยากให้เห็นเหล็กดัดฟันด้านนอกสามารถเลือก จัดฟันด้านใน เพื่อซ่อนเหล็กได้เช่นกัน


การรักษาด้วยทันตกรรมจัดฟันเป็นอย่างไร?

การจัดฟัน

การจัดระเบียบของฟันให้คงที่ด้วยการจัดฟัน ปัจจุบันสามารถทำได้ 2 แบบ คือ ติดถาวรและแบบถอดออกได้ ซึ่งแบบติดถาวรจะเป็นโลหะที่ติดอยู่บนซี่ฟันตลอดเวลาในช่วงของการบำบัดรักษา เครื่องมือเหล่านี้จะทำการช่วยดัดฟันและขากรรไกรแบบนุ่มนวลและก็จะให้ผลในการบำบัดรักษาที่แตกต่างกันออกไป โดยความรุนแรงของปัญหาสุขภาพฟันของคนไข้จะเป็นตัวตัดสินว่าวิธีการจัดฟันแบบใดจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดต่อรูปแบบฟันของคนไข้เองและการพิจารณาตัดสินใจของทันตแพทย์จัดฟันถึงความจำเป็นและความเหมาะสม

โดยทั่วไปการรักษาด้วยเครื่องมือติดแน่นใช้เวลาประมาณ 2 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหา , การเจริญเติบโตของขากรรไกรของผู้ป่วย , รวมถึงความร่วมมือของผู้ป่วย . . . เพราะการจัดฟันนั้นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยเป็นหลัก ในการรักษาความสะอาดของฟัน , ดูแลเครื่องมือจัดฟันที่ใช้ และการใส่หนังยางดึงฟันตามที่ทันตแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เป็นต้น โดยจะมีวิธีการจัดฟันแบบต่างๆดังนี้

  • จัดฟันแบบโลหะ เป็นวิธีการจัดฟันที่นิยมใช้การมานานและเป็นรูปแบบพื้นฐานที่ต้องมีที่สถานทันตกรรม ประกอบด้วยยาง ลวดหรือเหล็กเพื่อยึดกับฟันหรือใช้เคลื่อนฟัน ในปัจจุบันมีการพัฒนาของวัสดุที่ใช้ให้มีขนาดเล็กลงและเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีสีสันสดใสเพิ่มมากขึ้น
  • จัดฟันแบบสีเหมือนฟัน วัสดุที่ใช้ในการจัดฟันได้รับการพัฒนามากขึ้นในการจัดฟันแบบติดแน่น มีวัสดุที่มีสีเหมือนฟันโดยช่วยให้เห็นโลหะน้อยลง
  • จัดฟันแบบใส เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ใหญ่ที่ไม่อยากใส่เหล็กดัดฟัน ซึ่งสามารถถอดออกได้และช่วยแก้ปัญหาของการเรียงตัวของฟันโดยที่ไม่ต้องทำการยึดติดวัสดุใดลงบนฟัน สามารถถอดออกได้เวลารับประทานอาหาร หรือแปรงฟันเป็นต้น
  • เครื่องมือคงสภาพฟันแบบใสหรือที่เราเรียกทั่วไปว่า retainer เป็นเครื่องมือที่สามารถถอดออกได้จะใส่ที่เพดานปาก เริ่มใช้หลังได้รับการจัดฟันเพื่อช่วยให้ฟันคงอยู่ตำแหน่งเดิม ป้องกันการเคลื่อนตัวและฟันกลับไปเกเหมือนเดิม

หลังจากที่ได้พูดถึงเรื่องของการจัดฟันและ 7 ลักษณะของฟันที่ต้องจัดให้เหมาะสมแล้ว เชื่อได้เลยว่าคุณก็ได้เรียนรู้ความสำคัญของการดูแลฟันให้ดีเพื่อป้องกันโรคเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันอย่างถูกวิธีและเลือกใช้สารทำความสะอาดช่องปากที่เหมาะสม หรือการตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น จากที่ได้เห็นถึงความสำคัญของฟันแล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดโรคและความเจ็บปวดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเราไม่สนใจการดูแลฟันของตนเอง

อ้างอิง:

Types of Braces. https://bellevueorthodontist.com/braces/types-of-braces/

Orthodontics. https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/24285-orthodontics

What types of braces are there?. https://www.artoforth.com/english/braces-101/types-braces/