การรักษารากฟัน ดูแลรักษารากฟัน ด้วยทันตแพทย์เฉพาะทาง บางครั้งหลายคนอาจจะคิดว่าฟันตัวเองขาวสะอาด แสดงว่ามีสุขภาพฟันและช่องปากที่แข็งแรงดีแล้ว แต่อันที่จริง แม้จะมีฟันขาว แต่หากมีอาการเลือดออกตามไรฟันบ่อยๆ ปวดฟัน มีกลิ่นปาก มีหินปูนมาก และมีฟันผุหลายซี่ เหล่านี้ล้วนแสดงช่องปากของคุณกำลังมีปัญหา ต้องได้รับการดูแลแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะยิ่งแก่ตัวขึ้น ก็ยิ่งแก้ไขได้ยากกว่าเดิม อาจลามไปถึงการเกิดปัญหา โรคเหงือก ได้
ทั้งนี้ทางออกที่ดีที่สุดก็คือการรักษารากฟัน โดยเฉพาะในกรณีของผู้ที่มีฟันผุแล้วปล่อยทิ้งไว้นานๆ โดยไม่รักษาด้วยการอุดฟันให้เรียบร้อย เสี่ยงมากที่จะลุกลามทำลายรากฟันมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงชั้นโฟรงประสาทฟันเกิดการอักเสบ ฝีหรือหนองที่ปลายรากฟันตามมา ถ้าไม่ทำอะไรจนเรื้อรังต่อมาอาจถึงขั้นต้องถอนฟันทิ้ง รวมถึงมีโอกาสที่จะกลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคคอยในช่องปากที่อาจลามไปถึงอวัยวะอื่นๆในร่างกาย ขณะเดียวกันโรคเหงือกกาที่ฟันแตกหักมีรอยร้าวหรือถูกกระแทกแรงๆ ก็ทำให้โพรงประสาทฟันเกิดการอักเสบได้ด้วย
สำหรับการ รักษารากฟัน หรือ การรักษาคลองรากฟันคือการซ่อมแซมและรักษาฟันที่เสียหายหรือติดเชื้ออย่างรุนแรง แบบไม่ต้องถอนฟันทิ้ง ซึ่งขั้นตอนการรักษาจะประกอบด้วยการขูดเนื้อฟันส่วนที่เสียหายออก (ของโพรงประสาทและคลองรากฟัน) ทำความสะอาด และทำให้ปราศจากเชื้อโรคก่อน จึงค่อยอุดคลองรากฟันกับโพรงประสาทฟัน เพื่อลดความเสียหายในช่องปากและช่วยลดอาการ ปวดฟันมากๆ
ด้านสาเหตุทั่วไปที่ทำให้โพรงประสาทฟันเสียหายได้แก่ ฟันแตก ฟันผุลึก การรักษาฟันซี่ใดๆซ้ำหลายครั้ง หรือฟันได้รับบาดเจ็บ คำว่า การรักษาคลองรากฟัน จึงมีที่มาจากการทำความสะอาดโพรงที่อยู่ภายในรากฟัน
และในส่วนของวิธีการรักษารากฟัน หลักการที่สำคัญคือ หากฟันของผู้ป่วยมีการติดเชื้อในโพรงประสาท การรักษาก็จะทำโดยการใส่ยาประเภทแคลเซียมไฮดรอกไซด์ เพื่อฆ่าเชื้อ เมื่อมั่นใจแล้วว่าภายในคลองรากฟันปราศจากเชื้อ ก็จะทำการอุดและครอบฟันต่อไป โดยประกอบด้วยหลายขั้นตอนและผู้ป่วยต้องเดินทางมาพบทันตแพทย์หลายครั้ง แล้วแต่สถานการณ์ดังต่อไปนี้
จากนั้น ผู้ที่ต้องการรักษา รากฟัน ต้องมีเวลาไปพบทันตแพทย์มากกว่าหนึ่งครั้ง ทันตแพทย์อาจจะอุดฟันไว้ชั่วคราวเพื่อปกป้องฟันเอาไว้จนกว่าผู้รับการรักษาจะมาพบทันตแพทย์ในครั้งถัดไป หลังจากนั้นทันตแพทย์จะนำวัสดุอุดฟันชั่วคราวออกและอุดโพรงประสาทฟันและคลองรากฟันแต่ละคลองด้วยวัสดุอุดคลองรากเป็นการถาวร และปิดด้วยซีเมนต์ บางครั้งอาจจะมีการวางแท่งโลหะหรือพลาสติกเอาไว้ในคลองรากสำหรับพยุงวัสดุอุดฟัน
และขั้นตอนสุดท้ายจากนั้นทันตแพทย์มักจะทำครอบฟันไว้บนฟันเพื่อให้ฟันมีรูปร่างและลักษณะเป็นธรรมชาติ ซึ่งถ้าฟันซี่นั้นหัก ทันตแพทย์อาจจะต้องสร้างเสาฟันขึ้นมาเพื่อใช้ในการติดตั้งครอบฟัน
คุณอาจสนใจเนื้อหาต่อไปนี้: รักษารากฟันราคาเท่าไหร่
การรักษารากฟันเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ เพราะการรักษารากฟันช่วยให้ฟันยังคงมีประโยชน์และสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตลอดชีวิต ดังนั้นผู้ที่ควรรักษารากฟันได้แก่
สำหรับผู้ที่ต้องการรักษารากฟัน เช่น ผู้ที่มีฟันผุ หรือต้องการติดเครื่องจักรจัดฟัน ก็จะต้องมีการรักษารากฟันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ฟันเติบโตและแข็งแรงมากพอที่จะรองรับการรักษาดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้ที่ต้องการรักษารากฟันยังควรมีการดูแลและทำความสะอาดฟันอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาสุขภาพฟันและรากฟันให้แข็งแรงอยู่เสมอ
การรักษารากฟันเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะรากฟันเป็นส่วนที่สำคัญของฟันที่อยู่ใต้เหงือกและยังเชื่อมต่อกับกระดูกขากรรไกรเพื่อให้ฟันสามารถยึดตัวไว้ในที่ได้ นอกจากนี้ รากฟันยังเป็นที่อยู่ของหลอดเลือดและประสาทที่จำเป็นสำหรับการบำรุงสุขภาพของเครือข่ายระบบประสาทและระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายด้วย หากไม่รักษารากฟันให้เหมาะสม เช่น ไม่ได้ทำการทำความสะอาดฟันอย่างสม่ำเสมอ หรือไม่ได้รักษาโรคเหนือเกินไป อาจทำให้เกิดโรคเหล่านี้ได้ เช่น โรคเหงือกอักเสบ การเสื่อมสลายของรากฟัน และการสูญเสียฟัน เหล่านี้สามารถทำให้เกิดอาการปวดและอาการปวดฟันรุนแรงได้ นอกจากนี้ การสูญเสียฟันอาจส่งผลกระทบต่อการกลืน การพูด และการรับประทานอาหารด้วย ดังนั้น การรักษารากฟันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพื่อรักษาฟันและสุขภาพทั่วไปของร่างกายด้วย
อย่างไรก็ตาม การรักษารากฟันสามารถเก็บรักษาฟันไว้ใช้งานได้ต่อไปดีกว่าการใส่ฟันปลอม เนื่องจากฟันที่รักษารากแล้วก็เหมือนฟันในปากซี่อื่นๆคือ มีเบ้ากระดูกยึดให้ฟันแน่นมั่นคงแข็งแรง และให้ความรู้สึกดีกว่าการใส่ฟันปลอมมาก ดังนั้น ผู้ที่กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปาก อย่ารีรอที่จะเข้าไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการดูแลรักษารากฟันอย่างทันท่วงที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนสายเกินแก้ เพราะคุณอาจจะต้องมานั่งนึกเสียใจในภายหลังเอาได้
อ้างอิง:
–Root canal treatment. https://www.nhs.uk/conditions/root-canal-treatment/
–Root Canal Explained. https://www.aae.org/patients/root-canal-treatment/what-is-a-root-canal/root-canal-explained/