การใส่ฟันปลอม พร้อมการดูแลรักษาฟันปลอม ที่คุณควรรู้!

การใส่ฟันปลอม พร้อมการดูแลรักษาฟันปลอม ที่คุณควรรู้

การใส่ฟันปลอม

การใส่ฟันปลอม พร้อมการดูแลรักษาฟันปลอม ที่คุณควรรู้

การใส่ฟันปลอม พร้อมการดูแลรักษาฟันปลอม ที่คุณควรรู้ แม้จะดูแลรักษาสุขภาพในช่องปากดีสักเท่าไหร่ แต่ด้วยหลายปัจจัยอาจทำให้หลายต่อหลายคนต้องเสียฟันแท้ไปก่อนวัยอันควร ไม่ว่าจะเป็นจากฟันผุ จากโรคเหงือก หรือจากอุบัติเหตุต่าง ๆ โดยหากเกิดในฟันซี่ที่มีความสำคัญไม่ว่าจะเป็นฟันซี่ที่ต้องทำการบดเคี้ยวอาหาร หรือฟันซี่ด้านหน้าที่มีผลต่อเรื่องของบุคลิกภาพ ก็ต้องมีการใส่ฟันปลอมทดแทน ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ว่าแล้ว เราก็ลองมาทำความเข้าใจในเรื่องของฟันปลอมกันค่ะ ว่ามีอะไรบ้างที่คุณควรรู้

ฟันปลอม เป็นฟันที่มาทดแทนฟันที่เสียไป โดยสามารถใส่เข้าและถอดออกจากปากของเราได้ แม้ว่าฟันปลอมอาจจะต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นเคย และไม่มีทางที่จะรู้สึกเหมือนฟันธรรมชาติ แต่ฟันปลอมในปัจจุบันก็แลดูเป็นธรรมชาติและมีความสะดวกสบายมากกว่าเมื่อก่อน ซึ่งฟันปลอมมี 2 ประเภท คือ ฟันปลอมแบบทั้งปาก และ ฟันปลอมแบบบางส่วน แต่ในปัจจุบันนี้ก็มีรูปแบบการทำฟันแบบใหม่คือการทำสะพานฟัน อีกด้วย ซึ่งทันตแพทย์จะเป็นคนแนะนำว่าควรใช้ฟันปลอมประเภทใด ขึ้นอยู่กับว่าคุณเสียฟันบางซี่หรือหมดทุกซี่ รวมทั้งต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายด้วย


1. ฟันปลอมแบบทั้งปาก

ฟันปลอมแบบทั้งปาก

ฟันปลอมแบบทั้งปาก คือการทดแทนฟันทั้งหมดที่สูญเสียไป โดยฐานฟันปลอมสามารถทำด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น พลาสติก โลหะ หรือแบบผสม และยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ด้วยการยึดติดกับรากฟันเทียมไททาเนียม และจะช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับแผงฟันปลอมได้อีกด้วย

“การใส่ฟันปลอมแบบทั้งปาก” เป็นการใส่ฟันปลอมที่ครอบคลุมทุกฟันในปาก ไม่ว่าจะเป็นฟันหน้า ฟันกราม และฟันทั้งหมดในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการแทนที่ฟันเดิมทั้งหมด การใส่ฟันปลอมแบบทั้งปากสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใช้เทคนิค “all-on-four” หรือการใช้จำนวนฟันปลอมต่าง ๆ แล้วติดตั้งบนโครงสร้างเทียมในปากผู้ใช้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมและธรรมชาติที่สุด การใส่ฟันปลอมแบบทั้งปากเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการสูญเสียฟันหลายฟันหรือทั้งหมด และสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจในการสนทนา หรือกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมั่นใจและสบายใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การติดตั้งฟันปลอมแบบทั้งปากต้องการการดูแลรักษาและการเยี่ยมหมอฟันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ฟันปลอมมีอายุการใช้งานยาวนานและยังคงดูแลอย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อสุขภาพช่องปากและฟันของผู้ใช้ในระยะยาว

2. ฟันปลอมแบบบางส่วน

ฟันปลอมแบบบางส่วน

ฟันปลอมแบบบางส่วน เป็นทางเลือกหนึ่งในการรทดแทนฟันที่สูญเสียไป ในกรณีที่ผู้เข้ารับบริการยังคงมีฟันตามธรรมชาติเหลืออยู่ ซึ่งฐานฟันปลอมสามารถทำจากพลาสติก หรือโลหะ และจะมีก้ามปูซึ่งมีทั้งสีเหมือนฟันและโลหะใช้ในการยึดฟันตามธรรมชาติเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่ฟันปลอม

อย่างไรก็ตามชนิดของฟันปลอมยังแยกย่อยออกมาได้อีกเป็นฟันปลอมแบบต่าง ๆ เช่น  ฟันปลอมแบบทั่วไป , ฟันปลอมแบบทันที และ ฟันปลอมชนิดติดแน่น

ฟันปลอมแบบทั่วไป หรือ ฟันปลอมถอดได้ การทำฟันปลอมแบบทั่วไป ทันตแพทย์จะเริ่มทำหลังจากที่แผลจากการถอนฟันของผู้ป่วยได้สมานตัวดีแล้ว โดยระยะเวลาที่ใช้ทั้งหมดหลังการถอนฟันจนได้รับฟันปลอมที่สมบูรณ์แบบนั้นจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 8 – 12 สัปดาห์

ฟันปลอมแบบทันที การทำฟันปลอมแบบทันทีเป็นการที่ทันตแพทย์เริ่มทำการพิมพ์ปากเพื่อทำฟันปลอมก่อนที่จะทำถอนฟันให้แก่ผู้ป่วย โดยหลังจากการถอนฟันผู้ป่วยสามารถที่จะใส่ฟันปลอมได้ทันที แต่เนื่องจากเมื่อแผลจากการ ถอนฟันได้หายดีแล้ว กระดูกรองรับฟันและเหงือกบริเวณนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงและยุบตัวลง ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องเข้ารับการปรับแต่งฟันปลอมดังกล่าวให้มีความพอดีกับบริเวณนั้น ๆ เพื่อความสะดวกสบายของผู้ป่วยขณะสวมใส่ สำหรับการทำฟันปลอมประเภทนี้จะเป็นวิธีการแก้ปัญหาการสูญเสียฟันระดับเบื้องต้นและชั่วคราวเท่านั้น หลังจากที่บริเวณเหงือกมีสภาพปกติดีแล้ว ทันตแพทย์จะเริ่มทำฟันปลอมแบบทั่วไปเพื่อใช้แบบถาวรต่อไป

ฟันปลอมชนิดติดแน่น ฟันปลอมชนิดติดแน่นคือฟันปลอมถาวรที่ยึดแน่นในช่องปากโดยอาศัยฟันธรรมชาติซี่ที่อยู่ข้างเคียง กับช่องว่างเป็นหลักในการยึดฟันปลอม ฟันปลอมชนิดนี้ผู้ที่ใส่ไม่สามารถถอดออกมาเพื่อทำความสะอาด ภายนอกช่องปากได้ แบ่งได้ดังนี้ เดือยฟัน ครอบฟัน สะพานฟัน โดยฟันปลอมติดแน่นจะมีลักษณะ และขนาดเหมือนฟันธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมถอดได้ จึงทำให้เรารู้สึกสบายกว่า ไม่มีส่วนของเหงือกปลอม หรือตะขอที่เกะกะ และการใช้งานประสิทธิภาพดี แข็งแรง สวยงาม ขั้นตอนการทำฟันปลอมชนิดติดแน่นและระยะโดยประมาณในการรักษา อาจจะใช้เวลามาพบทันตแพทย์ประมาณ 1-3 ครั้ง แต่ละครั้งอาจจะห่างกันประมาณ 1 สัปดาห์หรือตามทันตแพทย์นัด

การดูแลรักษาฟันปลอม

การดูแลความสะอาดฟันปลอม อย่างถูกวิธีมีความสำคัญมาก เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการสะสมของคราบอาหารและแบคทีเรีย ในส่วนของการดูแลรักษาฟันปลอมนั้นมีข้อควรรู้ดังต่อไปนี้

  • ฟันปลอมบอบบางมากขณะที่คุณถือฟันปลอมในมือ คุณอาจต้องเตรียมผ้าขนหนูหรืออ่างใส่น้ำมารองข้างหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันปลอมตกแตก
  • ควรถอด ฟันปลอม ออกเวลานอน เพื่อให้เหงือกได้มีโอกาสพักและลดแรงกดบนกระดูกขากรรไกร
  • อย่าปล่อยให้ฟันปลอมแห้งเด็ดขาด ตอนที่ไม่ได้ใส่ฟันปลอม ให้แช่ฟันปลอมในน้ำยาล้างฟันปลอมหรือน้ำเปล่า ห้ามใช้น้ำร้อนเด็ดขาดเพราะอาจทำให้ฟันปลอมบิดงอ
  • แปรงฟันปลอมเป็นประจำทุกวันเพื่อขจัดเศษอาหารและคราบจุลินทรีย์บนฟัน และป้องกันไม่ให้เกิดคราบบนฟันปลอม คุณสามารถใช้เครื่องล้างฟันปลอมระบบอัลตราโซนิคได้เช่นกัน แต่ไม่ควรนำมาใช้แทนการแปรงฟันประจำวัน
  • แปรงเหงือก ลิ้น และเพดานปากด้วยแปรงสีฟันขนนิ่มทุกเช้าก่อนใส่ฟันปลอม การทำแบบนี้จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตในเนื้อเยื่อ ขจัดคราบจุลินทรีย์ และเพื่อสุขอนามัยที่ดี
  • เมื่อฟันปลอมแตก หัก บิ่น หรือหลวม ให้ไปพบทันตแพทย์ อย่าปรับฟันปลอมเอง เพราะอาจทำให้ฟันปลอมของคุณเสียหายจนซ่อมไม่ได้

การใส่ฟันปลอม

อย่างไรก็ตาม ฟันปลอมจะต้องนำไปเสริมฐาน ทำใหม่ หรือเปลี่ยนฐานฟันใหม่ เนื่องจากสึกกร่อนจากการใช้งาน การเปลี่ยนฐานฟันใหม่จึงหมายถึงการเปลี่ยนฐานฟันปลอมแต่ยังใช้ตัวฟันอันเดิม โดยเมื่อคุณอายุมากขึ้น ปากของคุณก็จะเปลี่ยนไปด้วย ฟันปลอมของคุณจึงหลวม ทำให้คุณเคี้ยวอาหารลำบากและระคายเคืองเหงือกได้ง่าย ดังนั้นอย่าลืมไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อสุขภาพที่ดีของช่องปากในระยะยาวต่อไป แต่สำหรับใครที่มีฟันร้าวหรือฟันแตกหักก็ไม่จำเป็นต้องใส่ฟันปลอมเสมอไป แค่ทำการครอบฟันก็เพียงพอแล้ว


หวังว่าเมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใส่ฟันปลอมและการดูแลรักษาฟันปลอมให้ถูกต้องตามคำแนะนำได้แนะนำไว้แล้ว คุณจะมีความมั่นใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของคุณอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันอย่างถูกต้อง การใช้สารป้องกันฟันผิวแข็ง หรือการตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ จำไว้ว่าฟันปลอมไม่ใช่แค่การใส่ฟันแล้วจบ การดูแลรักษาเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ฟันปลอมใช้ได้ยาวนานและคงค่าตลอดชีวิตของคุณ อย่าลืมไปพบหมอฟันเพื่อปรึกษาเพิ่มเติมและรับคำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับคุณเองด้วยนะคะ ขอบคุณสำหรับการติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการใส่ฟันปลอมและการดูแลรักษาฟันปลอมของตัวคุณเอง

อ้างอิง:

Dentures. https://bangkokdentalcenter.com/dental-services/prosthodontics/dentures/

Dentures (false teeth). https://www.nhs.uk/conditions/dentures/

False Teeth: What You Should Know. https://www.healthline.com/health/false-teeth

Comments

comments