6 สาเหตุ ฟันผุเกิดจาก อะไรกันแน่นะ? ถ้าไม่อยากให้ฟันผุ ห้ามพลาด!!

6 สาเหตุ ฟันผุเกิดจาก อะไรกันแน่นะ? ถ้าไม่อยากให้ฟันผุ ห้ามพลาด!!

ฟันผุเกิดจาก

ฟันผุเกิดจาก ? 6 สาเหตุของฟันผุ ถ้าไม่อยากให้ฟันผุ ห้ามพลาด!!

ฟันผุเกิดจาก อะไรกันแน่นะ? 6 สาเหตุของฟันผุ ถ้าไม่อยากให้ฟันผุ ห้ามพลาด!! ฟันผุเกิดจาก การที่ฟันของคนเราปกติจะมีการลดแร่ธาตุ จากการที่แร่ฐาตุของผิวฟันถูกขับออก และมีการเปลี่ยนเป็นแร่ธาตุหรือขบวนการเติมแร่ฐาตุให้กับผิวฟันโดยแร่ฐาตุที่อยู่ในน้ำลาย หากขบวนการเติมแร่มากกว่าขบวนการขับออกฟันฟันจะปกติ

มื่อขบวนการละลายแร่ฐาตุมากกว่าขบวนการสร้างก็จะเกิดฟันผุ โดยเกิดจากเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะเชื้อ Streptococcus mutan และ Lactobasillus ย่อยอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต์ทำให้เกิดกรดที่จะทำลายผิวเคลือบฟัน บางรายเริ่มเห็นเป็นสีขาวขุ่นเล็ก ๆ ที่ผิวฟัน ซึ่งหลายคนอาจกังวลว่าฟันผุทำอย่างไรดี? โดยในระยะนี้หากตรวจพบ และรักษาสุขอนามัยก็จะทำให้ผิวฟันกลับปกติ หากยังมาการละลายของผิวฟันต่อไปอีกก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล หากยังไม่เป็นก็สามารถกลับคืนสู่ปรกติได้ หากกลายเป็นรูก็จะคงรูปตลอด แต่ถ้าไม่รักษาก็จะมีอาการปวดฟันจนกระทั่งฟันร่วงได้ในที่สุด

สำหรับฟันผุอาจมีอาการปวดฟันหรือไม่ก็ได้ โดยหากฟันผุเริ่มเป็นและมีการละลายผิวฟันชั้น Enamel หรือชั้น Dentin จะไม่มีอาการปวดจะเห็นเป็นรอยขาวหรืออาจจะออกสีน้ำตาล เมื่อฟันผุลงลึกถึงชั้น Pulp ซึ่งกดดูจะนิ่ม จะมีการเสียวฟันเวลารับประทานของร้อนหรือเย็น และถ้าลามไปถึงรากฟันก็จะทำให้เกิดอาการปวดฟัน บางรายจะมาด้วยมีกลิ่นปาก


ฟันผุ

ฟันผุเกิดจาก ? รวมสาเหตุที่เป็นต้นตอของปัญหา

สาเหตุฟันผุ ฟันผุเกิดจากอาการฟันผุมีอะไรบ้าง ปัจจัยที่จะทำให้เกิดฟันผุจะมีอยู่ 4 สาเหตุ จากฟัน แบคทีเรีย อาหาร และระยะเวลา ดังนี้

1. คราบหินปูนในช่องปาก หรือแบคทีเรียที่ทำลายผิวฟัน ผู้ที่มีเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวข้องต้นหากมีมากที่คราบหินปูนหรือที่ร่องฟันมากก็จะทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดฟันผุในระยะเริ่มแรก คือกลุ่มของ Mutans streptococci โดยมีซีโรไทป์ที่ทำให้เกิดฟันผุในคน คือ Streptococcus mutans และ Streptococcus sobrinus จากการตรวจเชื้อที่แยกได้จากแผ่นคราบฟันในกลุ่มเด็กที่มีฟันผุจะพบเชื้อกลุ่ม Mutans streptococci ประมาณ 30-50% ของปริมาณเชื้อทั้งหมด

2. อาหารที่มีส่วนผสมของแป้งกับน้ำตาลาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (แป้งและน้ำตาล) น้ำตาลส่วนใหญ่ที่เราได้รับในแต่ละวัน คือ น้ำตาลซูโครส กลูโคส แลคโตส และฟรุกโตสนั้น แบคทีเรียสามารถนำไปใช้ในการสร้างกรดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาลซูโครสจะมีบทบาทในการทำให้ฟันผุได้สูงกว่าน้ำตาลชนิดอื่น ๆซึ่งน้ำตาลฟรุกโตสก็มีผลทำให้เกิดกรดได้ใกล้เคียงกับน้ำตาลซูโครส ส่วนน้ำตาลแลคโตสที่มีอยู่ในนมแม่และนมวัวในปริมาณที่มากพอก็สามารถทำให้เกิดฟันผุได้เช่นกัน (ส่วนอาหารที่รสเปรี้ยวบางชนิดที่มีค่าความเป็นกรดต่ำก็ทำให้ฟันผุได้ง่ายด้วยเช่นกัน)

และในส่วนของความถี่ในการรับประทานอาหารนั้น การได้รับน้ำตาลเข้าสู่ช่องปากบ่อยๆ เช่น เด็กดูดนมขวดนาน ๆ ผู้ที่ชอบรับประทานขนมจุบจิบ เป็นต้น จะส่งผลให้ระดับภาวะความเป็นกรดคงที่ตลอดเวลาทำให้เกิดการสลายแร่ธาตุจากผิวเคลือบฟันมากกว่าการคืนกลับแร่ธาตุสู่ตัวฟัน ลักษณะของอาหารที่รับประทาน อาหารที่มีองค์ประกอบของแป้งหรือน้ำตาลที่มีลักษณะเหนียวติดฟันหรือค้างอยู่ในช่องปากได้นาน เช่น ลูกอม ทอฟฟี่ จะส่งผลให้เกิดกรดในช่องปากได้เป็นเวลานาน แต่ในทางกลับกันอาหารที่มีลักษณะหยาบหรือมีไฟเบอร์สูงจะช่วยทำความสะอาดฟันได้ดี ขณะเดียวกันการดื่มชา น้ำอัดลมที่มีสภาวะเป็นกรดทำลายผิวฟันเช่นกัน

3. น้ำลาย มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการเกิดโรคฟันผุ เนื่องจากน้ำลายสามารถช่วยในการชะล้างช่องปาก, เป็นตัวกลางช่วยลดการยึดเกาะและการเจริญเติบโตของแบคทีเรียกับผิวเคลือบฟัน, เป็นโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบในน้ำลายสามารถต่อต้านแบคทีเรียได้

แถมน้ำลายยังมีส่วนประกอบของระบบคุ้มกันที่มีบทบาทต่อการเกิดฟันผุ คือ secretory immunoglobulin A ที่มีหน้าที่ยับยั้งการยึดเกาะและยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ของแบคทีเรีย และ immunoglobulin G โดยเป็นแอนติบอดีที่พบในร่องเหงือก ที่จะช่วยเม็ดเลือดขาวในการกลืน Mutans streptococci, น้ำลายมี Sialin ซึ่งเป็นโปรตีนที่ถูกเผาผลาญโดยแบคทีเรียทำให้เกิดแอมโมเนียและโพลีอามีน ซึ่งมีคุณสมบัติในการเพิ่มค่า pH ของแผ่นคราบฟัน และสุดท้ายที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือน้ำลายสามารถช่วยปรับสภาพความเป็นกรดในช่องปากโดยสารบัฟเฟอร์ที่มีอยู่ในน้ำลาย

4. ระยะเวลาที่ฟันเจอกับกรด ปกติเมื่อทายอาหารแป้งและมีเศษอาหารเหลือ เชื้อแบคทีเรียจะย่อยสลายทำให้เกิดกรด และมีการละลายของผิวฟัน แต่ปริมาณน้ำลายกับเกลือแร่ในน้ำลายจะลดความเป็นกรดและเติมเกลือแร่ให้กับฟัน ซึ่งหากรับประทานอาหารบ่อย หรือน้ำลายน้อยก็จะทำให้ฟันอยู่ในสภาพเป็นกรดนาน ฟันจะเสี่ยงต่อฟันผุได้ การเกิดโรคฟันผุจะต้องอาศัยระยะเวลาในการเกิดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ด้านระยะเวลาที่อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลสัมผัสกับฟัน ยิ่งมีการสัมผัสมากและนานก็ส่งผลให้เกิดภาวะความเป็นกรดมากในแผ่นคราบฟันและเกิดการสลายแร่ธาตุของผิวเคลือบฟันอย่างต่อเนื่อง ส่วนช่วงของระยะเวลาก็มีผลในการเกิดโรคได้เช่นกัน กล่าวคือ ถ้าฟันมีการสัมผัสกับอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลในช่วงที่มีการหลั่งของน้ำลายน้อยก็จะส่งผลให้การผุลุกลามมากยิ่งขึ้น เช่น การที่เด็กดูดนมตอนหลับ การรับประทานอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลแล้วไม่แปรงฟันให้สะอาดก่อนเข้านอน เป็นต้น

5. ยาบางชนิดที่ทำให้น้ำลายลดลง โดยอาการปากแห้งนั้นก็มีสาเหตุมาจากอาการป่วยหรือมีโรคประจำตัว (โรคเบาหวาน โรคเบาจืด), การใช้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้แพ้ ยาแก้โรคซึมเศร้า, การรักษาด้วยการฉายแสงหรือจากการใช้เคมีบำบัด และการสูบบุหรี่ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดทั้งฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ เป็นต้น

6. ปัญหาจากความแตกต่างของช่องปากในแต่ละบุคคล เช่น จากลักษณะของเนื้อฟันบาง ทำให้มีปัญหาฟันผุได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากโรคฟัน มีโรคฟันบางประเภทที่มีเกลือแร่ที่เนื้อฟันน้อยทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย รวมถึงผู้ที่มีร่องบนฟันมากหรือลึกก็จะเกิดฟันผุได้ง่าย และผู้ที่เป็นโรคเหงือกมีเหงือกร่นทำให้ Dentin สัมผัสสภาพในฟัน Dentin ซึ่งจะมีเกลือแร่เป็นองค์ประกอบน้อยกว่าผิวฟันซึ่งในสภาพปากปกติก็ทำให้เกิดฟันผุได้


วิธีรักษาฟันผุ

วิธีรักษาฟันผุ

วิธีรักษาฟันผุ ทางแก้หรือวิธีการรักษาฟันผุ มีตั้งแต่วิธีแก้ปัญหาฟันผุง่าย ๆ อย่างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดแป้ง ลดนํ้าตาล ลดทานของหวาน ลดทานของจุกจิก แปรงฟันและบ้วนปากอย่างสม่ำเสมอ ใช้ไหมขัดฟันช่วยทำความสะอาดฟัน หมั่นไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเป็นประจำทุก 6-12 เดือน แต่ในส่วนของผู้ที่มีอาการฟันผุมาก ๆ ก็ต้องทำการ ขูดหินปูน กรอฟัน รักษารากฟัน อุดฟัน ไปจนถึงถอนฟัน ตามแต่ทันตแพทย์จะวินิจฉัย

อ้างอิง:

The Stages of Tooth Decay: What They Look Like. https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/tooth-decay-stages

Tooth decay. https://www.healthdirect.gov.au/tooth-decay

Comments

comments